ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ก้นจ้ำ, หญ้าก้นจ้ำ
ก้นจ้ำ, หญ้าก้นจ้ำ
Bidens biternata (Lour.) Merr.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Compositae (Asteraceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Bidens biternata (Lour.) Merr.
 
  ชื่อไทย ก้นจ้ำ, หญ้าก้นจ้ำ
 
  ชื่อท้องถิ่น บ่ะดี่(ลั้วะ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นสูงประมาณ 0.5 – 2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5 – 14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบหยักย่อยคล้ายฟันหลา หลังและใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใจจะยาวประมาณ 1.5 ซม.
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกมีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 – 10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม. เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล ผลมีลักษณะยาว แคบ ยาวประมาณ 9 – 19 มม. ปลายผลมีรยางค์อยู่ 2 – 5 อัน ยาวประมาณ 3 – 4 มม. ผิวนอกผลจะมีขนสั้น ๆ ออก[1]
 
  ใบ ใบ ใบออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5 – 14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบหยักย่อยคล้ายฟันหลา หลังและใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใจจะยาวประมาณ 1.5 ซม.
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกมีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 – 10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม. เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
 
  ผล ผล ผลมีลักษณะยาว แคบ ยาวประมาณ 9 – 19 มม. ปลายผลมีรยางค์อยู่ 2 – 5 อัน ยาวประมาณ 3 – 4 มม. ผิวนอกผลจะมีขนสั้น ๆ ออก
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน รับประทานกับน้ำพริก(ลั้วะ)
- ใบ ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำใช้ ล้างตาแก้โรคตามัว หรือใช้ตำพอกแผลสด แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟไหม้ เป็นต้น[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง